ความหมาย
ตามปกติโค้งผสมจะมีจุดศูนย์กลางอยู่ข้างเดียวกัน
แต่ในกรณีที่โค้งผสมมีจุดศูนย์กลางอยู่ตรงข้ามกันนั้น เราเรียกโค้งดังกล่าวว่าโค้งกลับทิศ
หรือ Reverse curve โค้งกลับทิศจะประกอบด้วยโค้งสองโค้งโดยมีจุดร่วม
หรือ PRC (Point of reverse curve) หรือมีเส้นสัมผัสร่วมที่ต่อเชื่อมกันระหว่างโค้งเรียกว่า
Intermediate tangent โค้งกลับทิศมักใช้ในภูมิประเทศที่เป็นภูเขา หรือในเขตเมืองที่ไม่สะดวกต่อการรื้อถอนและเวนคืน
ประโยชน์ของโค้งกลับทิศ
โค้ง
กลับทิศมักใช้ในภูมิประเทศที่เป็นภูเขา
หรือในเขตเมืองที่ไม่สะดวกต่อการรื้อถอนและเวียนคืน
จะสามารถลดผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
องค์ประกอบต่างๆของโค้งกลับทิศ
Elements of Reversed Curve
PC = point of curvature
PT = point of tangency
PRC = point of reversed curvature
T1 = length of tangent of the first
curve
T2 = length of tangent of the second
curve
V1 = vertex of the first curve
V2 = vertex of the second curve
I1 = central angle of the first
curve
I2 = central angle of the second
curve
Lc1 = length of first curve
Lc2 = length of second curve
L1 = length of first chord
L2 = length of second chord
T1 + T2 = length of common tangent
measured from V1 to V2
ประเภทของโค้งกลับทิศ
โค้งผสมมีหลายประเภทตามคุณสมบัติขององค์ประกอบโค้งที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
1.โค้งกลับทิศที่มีจุดเชื่อมต่อกันที่
จุด PRC
2.โค้งกลับทิศที่มีเส้นสัมผัสขนานกัน
2.1. เส้นสัมผัสขนานกันและรัศมีเท่ากัน
2.2
เส้นสัมผัสขนานกันแต่รัศมีไม่เท่ากัน
3.โค้งกลับทิศทีเส้นสัมผัสไม่ขนานกันแต่รัศมีเท่ากัน
3.1 AB ได้จากการวางแนวกำหนดมุม α, β หา Δ1 และ Δ2
3.2
AB ได้จากการวางแนวกำหนด
θ, T1, และ R หา Δ1, Δ2 และ T2
การวางโค้งกลับทิศ
วัตถุประสงค์
ปฏิบัติการที่มีวัตถุระสงค์เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้การวางโค้งกลับทิศซึ่งถือได้ว่าเป็นโค้งผสมประเภทหนึ่ง
สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในการวางโค้งในภูมิประเทศที่มีอุปสรรค เช่น หุบเขา หรือพื้นที่อาคารที่ไม่เหมาะสม
ถ้าจะทำการรื้อถอน เป็นต้น
เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่จำเป็น
1. กล้อง Theodolite
2. เทปวัดระยะ
3. หมุดเหล็ก หรือไม้ตะปูค้อน และเศษผ้าสำหรับใช้เป็นสัญลักษณ์ให้มองเห็นโดยสะดวก
4. Pins
ขั้นตอนการดำเนินงาน
การวางโคงกลับทิศกรณีที่มีจุดเชื่อมต่อกันที่จุด PRC นั้นมีขั้นตอนการดำเนินงานเหมือนกับการวางโค้งผสมทุกประการ
เพียงแต่ในการปฏิบัติจริงนั้นจะต้องกำหนดเส้นสัมผัสรวมให้ได้ก่อน นั้นหมายความว่าในเบื้องต้น
จะต้องกำหนดตำแหน่งของจุด V1 PRC และ V2 ซึ่งก็คือ จุด PI1
PT1 หรือ PC2 และ PI2 ตามลำดับ ให้ได้เสียก่อน จากนั้นให้ดำเนินการวางโค้ง โดยใช้แนวปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการวางโค้งวงกลม
และโค้งผสมตามที่ได้อธิบายไปแล้วในปฏิบัติการก่อนหน้านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น