สำรวจรังวัดที่ดิน (Cadastral Surveying)
สำรวจรังวัดที่ดิน คือ การสำรวจเพื่อการเอกสารกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นการสำรวจเพื่อบันทึกขอบเขตเมือง อำเภอ ตำบล และเขตกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อให้ทราบที่ตั้ง แนวเขต และเนื้อที่ของแปลงที่ดิน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ในการจัดทำทะเบียนที่ดินซึ่งในเมืองไทยจะเน้นการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินซึ่งกรมที่ดิน เป็นผู้รับผิดชอบ ใช้กรรมวิธีเหมือนงานรังวัดภูมิประเทศ แต่เน้นหนักในเส้นเขตระวางที่ดิน และดำเนินการวางเส้นโครงแผนที่ กำหนดหมุดบังคับ โดยใช้ดาวเทียม และทำแผนที่ในระบบ UTM- สอบเขต- แบ่งแยกแปลงที่ดิน
- หาตำแหน่งที่ดิน
- ออกแบบและวางผังจัดสรรที่ดิน
สำรวจเก็บรายละเอียดภูมิประเทศ (Topographic survey )
- สำรวจเพื่อทำเส้นชั้นความสูง ( Contour line )
- ปริมาตรดินตัด-ดินถม ( Cut-Fill )
ขั้นตอนการรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ
- การสำรวจสังเขป (Reconnaissance)
- การสำรวจรังวัดหมุดหลักฐาน (Control Surveys)
- การสำรวจรังวัดเก็บรายละเอียด (Details Surveys)
- การเขียนแผนที่ภูมิประเทศ
- การตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ
- ผังงานรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ
- กำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมในการสร้างหมุดหลักฐานทั้งทางราบและทางดิ่ง
- กำหนดตำแหน่งหมุดสถานีวงรอบเพื่อใช้ในการจัดเก็บรายละเอียด
- กำหนดมาตรฐานการดำเนินงานรังวัดหมุดหลักฐาน
- วิเคราะห์ความถูกต้องเชิงตำแหน่งที่ต้องการ และเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
- จัดหาหมุดหลักฐานที่ใช้ในการโยงยึดทั้งทางราบและทางดิ่งในบริเวณใกล้เคียง
- ประเมินเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
หลังจากได้ข้อกำหนดการทำงานจากการวิเคราะห์พื้นที่ด้วยการสำรวจสังเขป การสร้างหมุดหลักฐานทางราบและทางดิ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ต้องดำเนินการก่อน โดยมีวัตถุประสงค์
- โยงยึดหมุดหลักฐานทางราบและทางดิ่งจากภายนอกมายังหมุดหลักฐานภายใน
- พื้นที่โครงการรังวัดหมุดควบคุมสำหรับใช้ในพื้นที่โครงการอย่างทั่วถึง
- วิธีรังวัดหมุดควบคุม
- Traverse
- Triangulation Network
- GPS
- Differential Leveling
เมื่อได้สร้างหมุดสถานีที่ทราบค่าพิกัดทั้งทางราบและทางดิ่ง จึงใช้สถานีดังกล่าวในการรังวัดเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการ ซึ่งวิธีการสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
- วิธีการวัดระยะฉาก (Offset Surveying)
- วิธีรังวัดแบบสเตเดีย (Stadia)
- วิธีรังวัดแบบอิเล็กทรอนิกส์ทัชโอมิตรี (Electronic Tacheometry)
งานสำรวจระบบขนส่งมวลชน
งานจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ-ดาวเทียมดำเนินงานจัดหาภาพถ่ายทางอากาศ-ภาพถ่ายดาวเทียม สแกนภาพฟิล์มด้วยเครื่อง Photogrammetric Scanner(กรณีทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ) กำหนดจุดบังคับภาพที่เหมาะสม รังวัดดาวเทียมพิกัด-ระดับจุดบังคับภาพ การหาค่าการจัดวางตัวภายใน (Interior Orientation) ค่าการจัดวางตัวภายนอก (Exterior Orientation) การสร้างโมเดลความสูง (DEM) การจัดทำภาพออโธโฟโต้ (OrthoPhoto) เพื่อใช้ประกอบงานศึกษาคัดเลือกเส้นทาง งานออกแบบเบื้องต้น งานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานจัดการจราจร งานสำรวจภูมิประเทศ และงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
งานสำรวจภาคสนาม-ปรับแผนที่ปรุงภาพถ่ายให้ปัจจุบัน
ดำเนินงานสำรวจภาคสนามเพื่อปรับปรุงภาพถ่ายให้ปัจจุบัน โดยตรวจสอบรายละเอียดในแผนที่ เช่น ถนน อาคาร ให้ตรงกับสภาพปัจจุบัน รวมถึงการเก็บข้อมูลประกอบ เช่น นามศัพท์สำคัญ ชื่อถนน แม่น้ำ อาคาร สถานที่สำคัญ งานสำรวจภูมิประเทศ เป็นต้น
งานสำรวจภูมิประเทศและระดับตามแนวทาง
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจภาคสนามด้วยกล้องวัดมุม-กล้องระดับตามแนวทาง เพื่อเป็นรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น ถนน อาคาร สาธารณูปโภค เสาไฟฟ้า ท่อประปา ท่อระบายน้ำ ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น โดยสำรวจเป็นวงรอบปิด พร้อมเก็บระดับรูปตัดตามยาวแนวศูนย์กลางทาง ซ้าย-ขวา เก็บระดับรูปตัดขวาง เพื่อนำข้อมูลมาเขียนแผนที่ แปลน โปรไฟร์ มาตราส่วน 1:1,000 , 1:500 เพื่อใช้ในงานออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง
งานสำรวจสาธารณูปโภคบนดิน-ใต้ดิน
งานสำรวจภูมิประเทศ งานสำรวจในสนาม หาข้อมูลแบบก่อสร้างจริง เพื่อระบุตำแหน่ง แนว สาธารณูปโภค เช่น แนวสายไฟฟ้าใต้ดิน ท่อประปาใต้ดิน ท่อก๊าซ สายใยแก้วโทรศัพท์ เป็นต้น
งานสำรวจจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ดำเนินงานสำรวจจัดทำแบบปูโฉนดที่ดิน (Cadastral Plan) งานกำหนดเขตทาง งานประเมินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน งานสำเนาโฉนดที่ดิน งานสำรวจภูมิประเทศ
งานสำรวจวางแนวศูนย์กลางทาง-ปักหลักเขตทาง
ดำเนินงานสำรวจวางแนวศูนย์กลางทาง ปักหมุด PC PT POT PI และปักหลักเขตทาง งานสำรวจภูมิประเทศ
งานสำรวจทางหลวงแผ่นดิน
ดำเนินงานจัดทำ รังวัดดาวเทียมหมุดควบคุมโครงการ ด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบรังวัดสองความถี่ โยงยึดพิกัด โยงยึดระดับ รทก. (ด้วยจีพีเอสหรือกล้องระดับ) จากหน่วยงานแผนที่ของราชการ เช่น กรมแผนที่ทหาร กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรหรือ กรมที่ดิน เพื่อใช้ใน งานสำรวจภูมิประเทศ
งานสำรวจภูมิประเทศและระดับตามแนวทาง
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจภาคสนามด้วยกล้องวัดมุม-กล้องระดับตามแนวทาง เพื่อเป็นรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น ถนน อาคาร สาธารณูปโภค เสาไฟฟ้า ท่อประปา ท่อระบายน้ำ ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น โดยสำรวจเป็นวงรอบปิด พร้อมเก็บระดับรูปตัดตามยาวแนวศูนย์กลางทาง ซ้าย-ขวา เก็บระดับรูปตัดขวาง เพื่อนำข้อมูลมาเขียนแผนที่ แปลน โปรไฟร์ มาตราส่วน 1:1,000 , 1:500 เพื่อใช้ในงานออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง
งานสำรวจจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ดำเนินงานสำรวจจัดทำแบบปูโฉนดที่ดิน (Cadastral Plan) พร้อม งานสำรวจภูมิประเทศ งานกำหนดเขตทาง งานประเมินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ งานสำเนาโฉนดที่ดิน
งานสำรวจวางแนวศูนย์กลางทาง-ปักหลักเขตทาง
ดำเนินงานสำรวจวางแนวศูนย์กลางทาง ปักหมุด PC PT POT PI และปักหลักเขตทาง งานสำรวจภูมิประเทศ
งานสร้างโมเดลความสูงภูมิประเทศ
นำข้อมูลพิกัด-ระดับ จากงานสำรวจภูมิประเทศ มาสร้างเป็นโมเดลความสูงภูมิประเทศ (DTM) เพื่อใช้ในการสร้างรูปตัดตามยาว-ขวาง คำนวณปริมาณดิน ขุด-ถม และ สร้างภาพจำลองสามมิติแสดงภูมิประเทศ
งานรังวัดดาวเทียมโยงพิกัดเข้าพื้นที่โครงการ
ดำเนินงานจัดทำ รังวัดดาวเทียมโยงค่าพิกัดเข้าพื้นที่โครงการ ด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบรังวัดสองความถี่ โยงยึดพิกัด โยงยึดระดับ รทก. (โดยกล้องระดับ) จากหน่วยงานแผนที่ของราชการ เช่น กรมแผนที่ทหาร กรมชลประทาน หรือ กรมที่ดิน เพื่อใช้ใน งานสำรวจภูมิประเทศ
งานสำรวจผังบริเวณพื้นที่ทางแยก
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจภาคสนามด้วยกล้องวัดมุม-กล้องระดับตามแนวทาง เพื่อเป็นรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น ถนน อาคาร สาธารณูปโภค เสาไฟฟ้า ท่อประปา ท่อระบายน้ำ ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น โดยสำรวจเป็นวงรอบปิด พร้อมเก็บจุดระดับ เก็บรูปตัดตามยาวและขวาง เพื่อนำข้อมูลมาเขียนแผนที่ ผังบริเวณ แปลน โปรไฟร์ มาตราส่วน 1:1,000 , 1:500 เพื่อใช้ในงานออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง
งานสำรวจสาธารณูปโภคบนดิน-ใต้ดิน
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจในสนาม หาข้อมูลแบบก่อสร้างจริง เพื่อระบุตำแหน่ง แนว สาธารณูปโภค เช่น แนวสายไฟฟ้าใต้ดิน ท่อประปาใต้ดิน ท่อก๊าซ สายใยแก้วโทรศัพท์ เป็นต้น
งานสำรวจวางแนวศูนย์กลางสะพาน-อุโมงค์
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจวางแนวศูนย์กลางทาง ปักหมุด PC PT POT PI ตามแนวออกแบบ สะพาน อุโมงค์
งานสำรวจโครงการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชน
งานค้นหา ตรวจสอบระดับ รทก. หมุดออกงานระดับ
ดำเนินงานค้นหา โครงข่ายหมุดระดับ รทก. ของหน่วยงานราชการ กรมแผนที่ทหาร กรมชลประทาน พร้อมตรวจสอบการทรุดตัว เพื่อใช้เป็นหมุดโยงยึดค่าระดับในโครงการ
งานสำรวจวางโครงข่ายหมุดระดับ/พิกัด
ดำเนินงานสำรวจวางหมุดโครงข่ายระดับ รทก. พิกัด (GPS) เพื่อใช้ในการควบคุมค่าระดับ-พิกัดแนวป้องกันน้ำท่วมในโครงการ
งานสำรวจขั้นแผนหลัก/ศึกษาความเหมาะสม
ดำเนินงานสำรวจโยงระดับจากหมุดควบคุมทางดิ่ง เก็บค่าระดับถนน คันกั้นน้ำเดิม ท้องท่อระบายน้ำเดิม เขียนแผนที่เบื้องต้น แสดงค่าระดับต่างๆ/ทิศทางการไหล เพื่อใช้ เป็นข้อมูลในการศึกษาและกำหนดแนวออกแบบคันกั้นน้ำหรือแนวท่อระบายน้ำในพื้นที่โครงการ
งานสำรวจเก็บรายละเอียดภูมิประเทศและระดับ
ดำเนินงานสำรวจภาคสนามด้วยกล้องวัดมุม-กล้องระดับตามแนวทาง เพื่อเก็บรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น ถนน อาคาร สาธารณูปโภค เสาไฟฟ้า ท่อประปา ท่อระบายน้ำ ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น โดยสำรวจเป็นวงรอบปิด พร้อมเก็บจุดระดับ เก็บรูปตัดตามยาวและขวาง เพื่อนำข้อมูลมาเขียนแผนที่ ผังบริเวณ แปลน โปรไฟร์ มาตราส่วน 1:1,000 , 1:500 เพื่อใช้ในงานออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง
งานสำรวจผังบริเวณอาคารชลศาสตร์
ดำเนินงานสำรวจผังบริเวณพื้นที่ ก่อสร้างอาคารสูบ/ระบาย/บังคับน้ำ แนวถนนเข้าอาคาร โดยเก็บรายละเอียดต่างๆ พร้อมจุดระดับ ทุก 2-5 เมตร จัดทำแผนที่ภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูง มาตราส่วน 1:500
งานสำรวจหยั่งความลึกน้ำ
ดำเนินงานสำรวจหยั่งความลึกลำน้ำเพื่องานออกแบบเขื่อน-คันป้องกันน้ำท่วม ริมแม่น้ำ คลอง ด้วยระบบ Echo Sounding + DGPS เขียนแผนที่เส้นชั้นความสูงตลิ่ง เส้นชั้นความลึกท้องน้ำ
งานสำรวจพื้นที่ชลประทาน
งานจัดทำ รังวัดพิกัด(GPS)-ระดับ (รทก.)หมุดควบคุมโครงการ
ดำเนินงานจัดทำพร้อมรังวัดพิกัด-ระดับ หมุดควบคุมโดยโยงยึดกับ โครงข่ายพิกัด-ระดับ รทก. ของหน่วยงานราชการ กรมแผนที่ทหาร กรมชลประทาน เพื่อใช้เป็นหมุดโยงยึดค่าพิกัด-ระดับงานวงรอบในโครงการ งานสำรวจภูมิประเทศ
งานสำรวจจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
ดำเนินการสำรวจ จัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน 1:10,000 1:4,000 โดยวิธี Photogrammetry พร้อมแปลภาพถ่ายในสนาม เพื่อใช้ในการเขียนแผนที่ลายเส้น งานสำรวจภูมิประเทศ
งานสำรวจค่าระดับพื้นดิน แผนที่มาตราส่วน 1:4,000
ทำการสำรวจวงรอบโดยรอบพื้นที่ เก็บค่าระดับพื้นดิน โดยกำหนดเส้นซอยทุกระยะ 50-100 ม. แล้วเก็บระดับตามแนวตั้งฉากเส้นซอยทุกระยะ 25-50 ม. ตรวจสอบ ความคลาดเคลื่อนเข้าบรรจบทางดิ่ง นำข้อมูลระดับที่ได้มาเขียนเส้นชั้นความสูงในแผนที่ งานสำรวจภูมิประเทศ
งานสำรวจผังบริเวณ หัวงาน อาคารบังคับน้ำ
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจผังบริเวณพื้นที่ หัวงาน อาคารบังคับน้ำ โดยเก็บรายละเอียดต่างๆ พร้อมจุดระดับ ทุก 2-5 เมตร จัดทำแผนที่ภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูง มาตราส่วน 1:500
งานสำรวจวางแนวคลองส่งน้ำ
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจวางหมุดศูนย์กลางแนวคลองส่งน้ำ คลองซอย สำรวจเก็บรายละเอียดภูมิประเทศ รูปตัดตามยาว-ขวาง ตามแนวคลอง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบคลองต่อไป
งานวัดน้ำ
ดำเนินงานวัดค่าระดับน้ำขึ้น-ลง ตรวจวัดปริมาณตะกอน
งานสำรวจระบบประปา
ดำเนินงานค้นหา โครงข่ายหมุดพิกัด/ระดับ รทก. ของหน่วยงานราชการ กรมแผนที่ทหาร กรมชลประทาน เพื่อใช้เป็นหมุดโยงยึดค่าพิกัด/ระดับในโครงการ งานสำรวจภูมิประเทศ
งานสำรวจเก็บรายละเอียดภูมิประเทศและระดับ
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจภาคสนามด้วยกล้องวัดมุม-กล้องระดับตามแนวทาง เพื่อเก็บรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น ถนน อาคาร สาธารณูปโภค เสาไฟฟ้า ท่อประปา ท่อระบายน้ำ ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น โดยสำรวจเป็นวงรอบปิด พร้อมเก็บจุดระดับ เก็บรูปตัดตามยาวและขวาง เพื่อนำข้อมูลมาเขียนแผนที่ แปลน โปรไฟร์ มาตราส่วน 1:4,000 , 1:1,000 เพื่อใช้ในงานออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง
งานสำรวจผังบริเวณพื้นที่โรงกรองน้ำ/สถานีสูบน้ำ
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจผังบริเวณพื้นที่ โรงกรองน้ำ รายละเอียดอาคาร ถังประปาต่างๆ แนวถนนเข้าพื้นที่ โดยเก็บรายละเอียด พร้อมจุดระดับ ทุก 2-5 เมตร จัดทำแผนที่ภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูง มาตราส่วน 1:500
งานสำรวจแบบก่อสร้างจริง
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจรายละเอียดขนาด ความลึก ภายในอาคารโรงกรองน้ำ รวมถึงแนวท่อและค่าระดับท่อต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบกรองน้ำ ระบบส่งน้ำ เป็นต้น
งานสำรวจรูปตัดความลึกน้ำ
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจหยั่งความลึกลำน้ำเพื่องานออกแบบโครงสร้างรับท่อหรืองาน Pipe Jacking ด้วยระบบ Echo Sounding + DGPS เขียนแผนที่เส้นชั้นความสูงตลิ่ง เส้นชั้นความลึกท้องน้ำ
งานสำรวจระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย
งานสำรวจภูมิประเทศ งานค้นหา ตรวจสอบพิกัด/ระดับ รทก. หมุดออกงาน
ดำเนินงานค้นหา โครงข่ายหมุดพิกัด/ระดับ รทก. ของหน่วยงานราชการ กรมแผนที่ทหาร กรมชลประทาน เพื่อใช้เป็นหมุดโยงยึดค่าพิกัด/ระดับในโครงการ
งานสำรวจขั้นศึกษาความเหมาะสม
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจโยงระดับจากหมุดควบคุมทางดิ่ง เก็บค่าระดับถนน ท้องท่อระบายน้ำเดิม เขียนแผนที่เบื้องต้น แสดงค่าระดับต่างๆ/ทิศทางการไหลเพื่อใช้เป็นข้อมูลใน การศึกษาและกำหนดแนวท่อระบายน้ำ/รวบรวมน้ำเสียในพื้นที่โครงการ
งานสำรวจเก็บรายละเอียดภูมิประเทศและระดับ
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจภาคสนามด้วยกล้องวัดมุม-กล้องระดับตามแนวทาง เพื่อเก็บรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น ถนน อาคาร สาธารณูปโภค เสาไฟฟ้า ท่อประปา ท่อระบายน้ำ ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น โดยสำรวจเป็นวงรอบปิด พร้อมเก็บจุดระดับ เก็บรูปตัดตามยาวและขวาง เพื่อนำข้อมูลมาเขียนแผนที่ แปลน โปรไฟร์ มาตราส่วน 1:1,000 เพื่อใช้ในงานออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง
งานสำรวจผังบริเวณพื้นที่โรงบำบัดน้ำเสีย
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจผังบริเวณพื้นที่ โรงบำบัดนำเสีย รายละเอียดอาคาร ถังน้ำเสียต่างๆ แนวถนนเข้าพื้นที่ โดยเก็บรายละเอียด พร้อมจุดระดับ ทุก 2-5 เมตร จัดทำแผนที่ภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูง มาตราส่วน 1:500
งานสำรวจแบบก่อสร้างจริง
ดำเนินงานสำรวจรายละเอียดขนาด ความลึก ภายในอาคารบำบัดน้ำเสีย รวมถึงแนวท่อและค่าระดับท่อต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย งานสำรวจภูมิประเทศ
งานสำรวจออกแบบท่าเรือ
งานค้นหา ตรวจสอบพิกัด/ระดับ รทก. หมุดออกงาน
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานค้นหา โครงข่ายหมุดพิกัด/ระดับ รทก. ของหน่วยงานราชการ กรมแผนที่ทหาร กรมเจ้าท่า เพื่อใช้เป็นหมุดโยงยึดค่าพิกัด/ระดับในโครงการ
งานสำรวจหยั่งความลึกท้องน้ำ
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจหยั่งความลึกท้องน้ำใช้ระบบ Echo Sounding ร่วมกับ DGPSติดตั้งบนเรือโดยทำการบันทึกตำแหน่งพร้อมความลึก ทุกช่วงเวลา 1-5 วินาที พร้อมตั้งสถานีวัดน้ำ จดบันทึกระดับน้ำขึ้น ลง จาก สตาฟเกจที่ติดตั้งไว้ เพื่อใช้เป็นค่าปรับแก้ค่าความลึกจาก Echo Sounding เป็นค่าระดับ รทก.
งานสำรวจผังบริเวณพื้นที่ก่อสร้างท่าเรือ
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจผังบริเวณพื้นที่ก่อสร้างท่าเรือ แนวถนนเข้าพื้นที่ โดยเก็บรายละเอียด พร้อมจุดระดับ ทุก 2-5 เมตร จัดทำแผนที่ภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูง มาตราส่วน 1:500
งานสำรวจทางสมุทรศาสตร์
งานสำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจเก็บข้อมูล การ ขึ้น ลง ของระดับน้ำ ความเร็ว ทิศทางการไหล ปริมาณตะกอน เป็นต้น
สำรวจเพื่อการป่าไม้
ในทางป่าไม้แผนที่และการรังวัดทำแผนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แผนที่ถือว่าเป็นเอกสารและหลักฐานสำคัญในการกำหนดพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า วนอุทยาน หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่ประสงค์จะสงวนไว้เพื่อประโยชน์ในทางป่าไม้ ส่วนการทำแผนที่นั้นมีความจำเป็นในการกันพื้นที่ป่าสงวนออกไปบางส่วน เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อย่างเช่น การแบ่งปันที่ดินทำกินที่อยู่ในเขตป่าสงวนออกเป็นส่วน ๆ ให้แก่ประชาชนซึ่งไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง หรือการรังวัดขอบเขตของสวนป่า ดังนั้นการศึกษาวิชาการรังวัดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นจะขาดเสียมิได้ สำหรับผู้ที่ต้องการที่จะออกไปทำงานด้านป่าไม้
ถ้าจะแบ่งงานรังวัดตามวัตถุประสงค์แล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 3 อย่าง คือ
ถ้าจะแบ่งงานรังวัดตามวัตถุประสงค์แล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 3 อย่าง คือ
- งานรังวัดที่ทำขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตของที่ดิน
- งานรังวัดที่ทำขึ้นเพื่อเก็บรายละเอียดสำหรับใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างทั้งของรัฐและเอกชน
- งานรังวัดที่มีขอบข่ายกว้างขวางและมีความถูกต้องสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยรัฐบาล
การสำรวจเพื่องานวิศวกรรม (Engincering Surveying)
เป็นการสำรวจเพื่อการออกแบบก่อสร้าง การสำรวจจะเป็นการทำแผนที่ภูมิประเทศซึ่งจะทราบพิกัดฉาก และค่าระดับ ถ้าเป็นการสำรวจพื้นที่ขนาดเล็กก็คิดว่าเป็นพื้นราบ เช่น การสร้างตึก ถนน อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ถ้าเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ก็จะใช้การสำรวจขั้นสูง
การสำรวจจะแบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ขั้นการออกแบบ
- ขั้นก่อนกรก่อสร้าง
- ขั้นการติดตามความก้าวหน้าในการก่อสร้าง
การสำรวจเพื่อการก่อสร้างอาคาร ( Construction Survey)
- เนื้อที่และปริมาตรดินตัด-ดินถม ( Cut-Fill)
- สำรวจทำผังบริเวณ , วางตำแหน่งลายเสาเข็ม , วางผังโครงการ , วางตำแหน่งสิ่งก่อสร้าง
- การวางผัง
- การวางตําแหน่งเสาเข็มและให้ระดับผัง
- การกําหนดตําแหน่งและทิศทาง
- การกําหนดตําแหน่งอาคารทางสูงและตรวจสอบ
- การให้ระดับอาคาร
- การหาการทรุดตัวของอาคาร
- การทําระดับตรีโกณมิติ
สามารถที่จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1. การสำรวจเพื่อการออกแบบ เพื่อให้ฝ่ายออกแบบนำไปออกแบบ ซึ่งข้อมูลที่ต้องการทราบ มีดังนี้
1.1) ขอบเขตของพื้นที่และระดับความสูงของพื้นที่
1.2) ถนน ขอบถนนและผิวจราจรเป็นการสำรวจสภาพเส้นทางเข้าออกโครงการ มีผลเมื่อต้องนำวัสดุอุปกรณ์เข้าโครงการหากเข้าออกไม่สะดวกอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา
1.3) สิ่งสาธารณูปโภค เช่น ท่อประปา , สายไฟฟ้า , ท่อระบายน้ำทิ้ง , เพื่อสำหรับใช้งานในระหว่างการก่อสร้าง
1.4) อาคารที่อยู่ใกล้กับสถานที่จะก่อสร้างเพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงแนวและระดับในการก่อสร้าง
1.5) สภาพการรับน้ำหนักของพื้นดิน หรือ ลักษณะของผิวดินหลังจากออกแบบอาคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงนำไปสู่ การสำรวจในแบบที่ 2
2. การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง การสำรวจขั้นนี้ถ้าเป็นการสร้างตึกขนาดใหญ่ จะต้องสำรวจ ดังนี้
2.1) สำรวจสภาพของตึกที่อยู่ใกล้ เช่น ลักษณะ ของโครงสร้าง ซึ่งอาจจะได้รับผลเสียหายในขณะที่ทำการก่อสร้าง เช่น การตอกเข็ม ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นของความกระเทือน ทำให้สิ่งก่อสร้างรอบข้างเกิดการทรุดตัวและพังได้
2.2) ค่าระดับของสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่แล้วนั้น รวมทั้งสิ่งสาธารณูปโภค และลักษณะของผิวจราจร
2.3) การกำหนดระยะและหมุด ควบคุม ต่างๆ เช่น Base lines , Offset และหมุด BM โดยอ้างอิงจากแบบก่อสร้างที่ได้ทำการออกแบบ
2.4) หลังจากทำการกำหนดระยะและหมุด ควบคุมต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อย จึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารต่อไป
ที่มา : http://www.pencothailand.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น